ประวัติหมู่บ้าน


ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

1.  ประวัติหมู่บ้าน   บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ
บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ  นั้นเป็นสันดอนโดยเป็นพื้นที่ดินที่งอกขึ้นใหม่จากการตื้นเขินของฝั่งทะเล ซึ่งพอมีหลักฐานปรากฏ คือ ซากเปลือกหอยเมื่อขุดลงไปในดินที่ความลึกประมาณ หนึ่งเมตร ถึงหนึ่งเมตรห้าสิบเซนติเมตร ส่วนชื่อของหมู่บ้านนั้นมีการเล่ากันต่อมาว่าเดิมที่ที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นสันดอน และมีต้นมะขามขึ้นอยู่มากมาย ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีต้นมะขามที่มีอายุมากกว่าร้อยปีให้เห็นอยู่หลายต้น ผู้เล่าๆว่าสมัยกินล่าสัตว์ได้ก็จะนำมาอย่างที่ได้ต้นมะขาม เมื่อมีคนผ่านไปมา และเห็นเข้าจึงเรียกที่ตรงนี้ว่า ดอนมะขามพรานย่างเนื้อ ต่อมาการเรียกชื่อของหมู่บ้านเพื่อให้มีความกระชับและมีบางคนที่เรียกตกหล่นจึงทำให้ชื่อ    บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ   มาจนถึงปัจจุบัน


2. ขนาดที่ตั้งและอาณาเขต
                   บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ หมู่ที่ 1  ตำบลปากทะเล  อำเภอบ้านแหลม  จังหวัดเพชรบุรี  ตั้งอยู่ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลปากทะเล    ห่างจากตัวอำเภอบ้านแหลมประมาณ 12   กิโลเมตร  มีอาณาเขต  ดังนี้
ทิศเหนือ          ติดต่อกับ          ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม
ทิศใต้              ติดต่อกับ          บ้านปากทะเล ตำบลบางแก้วอำเภอบ้านแหลม
            ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         บ้านปากทะเลใน ตำบลปากทะเล
               ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ          ตำบลโพพระ อำเภอเมืองเพชรบุรี

แผนที่หมู่บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ

1.1  ลักษณะภูมิประเทศ    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของอำเภอบ้านแหลม  พื้นที่ส่วนใหญ่

เป็นที่ราบสันดอน ประมาณร้อยละ  80  เป็นพื้นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูกประมาณ
    
         ร้อยละ 20  เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์
1.2  ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
(1.) แหล่งน้ำ
คลอง B 5        1        สาย
คลองสันดอน     1        สาย
(2.) สินแร่ธรรมชาติ (เกลือ)
(3)  ดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
         1.3  การปกครอง   จำนวนประชากร  และจำนวนครัวเรือน
          บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ ม.1 ต.ปากทะเล      มีประชากร รวมทั้งสิ้น  332  คน  เป็นประชากรชาย   176  คน  ประชากรหญิง  156  คน  มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  114  ครัวเรือน 
                   ผู้นำชุมชน
                             ผู้ใหญ่บ้าน                  นายสมพงษ์      ม่วงนาค
                             ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน           นายไพบูลย์       เลิศประเสริฐ  
  
                             ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน           นายองอาจ       คงจันทร์
                   สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
                             สมาชิก   อบต.            นายชัยวัฒน์      หว่านผล
                             สมาชิก   อบต.            นายสมพิศ        ม่วงนาค
                   อสม.
                             นางจเร           อาจหาญ
                             นางสายใจ        เทพประสูติ
                             นางวันเพ็ญ       เทพประสูติ
                             นายสมพงษ์      ม่วงนาค
                             นายทองล้วน     สวนศิริ
                             นายพรชัย        ม่วงนาค
                             นางสมบูรณ์      ม่วงนาค
                             นางศรีไพล       ม่วงนาค
                             นายลำพา        ทิพวัน
                   กพ.สม.
                             นางอรุณรัตน์     เครือพยัค
                             นางบุญยืน       สุวรรณศิริ
                             นางสาหร่าย      มั่งคั่ง
                             นางพรพรรณ     มากแสง
                             นางขวัญเรือน    ทรัพย์มงคล
                             นางบุญล้อม      หว่านผล
                   ผู้นำ อช.
                             นายกิตติพันธุ์     สุวรรณศิริ
                             นางอรุณรัตน์     เครือพยัค

        1.4 ข้อมูลสภาพสังคม
                    (1.) การศึกษา
                    ในอดีต  คนในหมู่บ้านไม่นิยมส่งเสียบุตร หลาน เรียนในระดับสูง  เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก  ประกอบกับสภาพทางเศรษฐกิจในครอบครัว  ไม่ดีแต่ในปัจจุบัน  ทุกครอบครัวให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก รวมถึงชุมชนก็ให้ความสำคัญกับการศึกษา  โดยมีการจัดงานเลี้ยงให้กับนักเรียนที่จบการศึกษาทุกปี  และมีการประกาศเกียรติแก่ผู้ที่จบการศึกษาในระดับปรัญญาตรีทุกปี
                    (2) การศาสนาและศาสนสถาน
                    คนส่วนใหญ่ในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ  เคร่งครัดต่อหลักศาสนา
(3) ศิลปวัฒนธรรม

                    สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ มีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบสันดอนและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง จึงได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ เพ็ญเดือน 11 และเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน อันเป็นระยะเวลา ที่ น้ำไหลหลาก   จึงจัดทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด "ประเพณีลอยกระทง"   นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ  อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง  เช่น     ประเพณีแข่งเรือ

ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนในชุมชนมีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ประเพณีทำขวัญข้าว   และการละเล่น เต้นกำรำเคียว เป็นต้น
                      
(4) การสาธารณสุข
-   ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน                  1                      แห่ง
-   หอกระจายข่าว                                    1                      แห่ง
-   ศาลากลางบ้าน                                    1                      แห่ง
-   ตู้โทรศัพท์สาธารณะ                              3                      ตู้
-  โรงเรียนระดับประถม                             1                      โรง
-  ธนาคารชุมชน                                       1                      แห่ง

1.5 การคมนาคมมีการคมนาคมติดต่อสื่อสารระหว่างหมู่บ้านกับอำเภอ   โดยการ

คมนาคมทางบกทางเดียว มีถนนสายสำคัญ  ดังนี้
                    หมู่บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านแหลม  ประมาณ  12 

 กิโลเมตร  มีคอนกรีตในหมู่บ้านตลอดสาย  เชื่อมต่อถนนคันกั้นน้ำเค็มเป็นถนนลาดยางถึงที่ว่าการอำเภอ

บ้านแหลมใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ  20  นาที      
                               
1.6 การสาธารณูปโภค

                       ไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน

                   ประปา มีระบบประปาส่วนภูมิภาคใช้ทุกครัวเรือน

                   โทรศัพท์ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะใช้  3  ตู้
                  
1.7 สถานที่ท่องเที่ยว  โบราณสถาน  และโบราณวัตถุ
                              ศาลหลวงพ่อนครธงชัย
                              ศาลหลวงพ่อราชา
                              ศาลหลวงพ่ออีม หลวงพ่ออ่ำ

                   1.8  ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน
                             นายอรุณ         สีดอกบวบ        บ้านเลขที่  13             หมู่ที่ 1
    
          ตำบลปากทะเล   มีความรู้ความชำนาญเรื่อง การบริหารจัดการกลุ่ม  และหมอสมุนไพร
                             นายชัยวัฒน์      หว่านผล          บ้านเลขที่  86/6          หมู่ที่  1 

          ตำบลปากทะเล  มีความรู้ความชำนาญเรื่อง พิธีกร
                             นายลูกชุบ        ผิวขาวปลั่ง       บ้านเลขที่  11             หมูที่ 1
 
ตำบลปากทะเล   มีความรู้ความชำนาญเรื่องพิธีกรการแข่งขันวัวลาน
                             นางสาวประยูร  สงฆ์สาวก         บ้านเลขที่  46             หมู่ที่  1 

ตำบลปากทะเล  มีความรู้ความชำนาญด้าน จักสานธูปฤาษี
                            
3.  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
                   สภาพทางสังคมของบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ เป็นสังคมที่มีความสงบสุข  มีการให้เกียรติ

และนับถือผู้สูงวัยกว่า  ผู้นำชุมชนเป็นแกนหลักในการนำการพัฒนาชุมชน
                   สภาพทางเศรษฐกิจ ราษฎรของหมู่บ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และค้าขายอาหาร

ทะเล ผลิตภัณฑ์ที่หมู่บ้านนำออกไปจำหน่ายภายนอกหมู่บ้าน คือปูม้าต้มสุก  สถานที่จำหน่าย ชายหาด

ชะอำ  อำเภอชะอำ  โดยประกอบอาชีพแบบไปเช้าเย็นกลับ
                   ข้อมูลรายได้อาชีพด้านการเกษตร
                             -  ทำนา                    917,000.-       บาท
                             -  ทำสวน                     2,500.-        บาท
                             -  ทำไร่                    220,000.-       บาท
                             -  การเลี้ยงสัตว์            42,500.-         บาท
                             -  ประมง                  435,500.-       บาท
                                      รวม             1,617,500.-       บาท
                   ข้อมูลรายได้อื่น
                   เงินเดือน ค้าขาย การประกอบธุรกิจ ฯลฯ      11,202950.-           บาท
                   รายได้รวมของบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ        12,820,450.-           บาท
                   รายได้เฉลี่ย ปี 2553  ต่อคนต่อ  เป็นเงิน        38,615.81        บาท
ที่มาของข้อมูล : จปฐ. ปี 2553