เรื่องการปลูกมะพร้าวน้ำหอม
วิธีการปลูก การเตรียมที่ปลูก ที่ลุ่ม พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังจำเป็นต้องยกร่องให้สูง
กว่าระดับน้ำ ไม่น้อยกว่า 50 ซม. คันร่อง กว้าง 5-8 เมตร ร่องลึก 1 เมตร
กว้าง1 1/2 - เมตร ที่ดอน ถ้าเป็นพื้นที่รกร้าง ต้องถางให้เตียน โค่นต้นไม้และ
ขุดตอออกให้หมด เพื่อสะดวกในการดูแลรักษามะพร้าวต่อไป ระยะปลูกที่
เหมาะสม คือ ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถว เท่ากับ 6x6 เมตร การ
เตรียมหลุมปลูกการปลูกมะพร้าวบนที่ดอนและดินมีความอุดมสมบูรณ์ เช่น
เป็นดินทราย หรือดินลูกรัง ควรขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และ
ลึก 1 เมตร ส่วนในที่ลุ่มหรือที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์อาจขุดหลุมให้เล็กกว่านี้ได้
การเตรียมหลุมปลูกที่ดีจะช่วยให้หน่อมะพร้าวเจริญเติบโตเร็วการขุดหลุม
ให้ขุดเอาดินผิวไว้ด้านหนึ่ง และดินชั้นล่างไว้อีกทางหนึ่ง และควรขุดในฤดูแล้ง
หลังจากขุดหลุมแล้ว ให้ตากดินไว้สัก 7 วัน ถ้าสามารถหาไม้มาเผาในก้นหลุม
จะช่วยป้องกันปลวกหลังจากขุดหลุมแล้ว เมื่อจะใส่ดินลงในหลุม ถ้าที่ปลูกนั้น
เป็นที่ดอน และสามารถหากาบมะพร้าวมารองก้นหลุมได้ ควรรองก้นหลุมด้วย
กาบมะพร้าวสัก 2 ชั้น แล้วจึงเอาดินชั้นบนใส่ลงไปประมาณครึ่งหลุม และใช้ดิน
เคล้ากับปุ๋ยคอกผสมลงไป บางแห่งก็แนะนำให้ใส่ปุ๋ยกับดิน และกาบมะพร้าว
สลับกันไปเป็นชั้น ๆ ปุ๋ยคอกที่ใส่ควรใส่หลุมละประมาณ1 ปี หรือ หินฟอสเฟต
ครึ่งกิโลกรัมต่อหลุม ใส่ดินและปุ๋ยที่ผสมกันแล้วจนเต็มหลุมและทิ้งไว้จนถึง
ฤดูปลูก
ฤดูปลูก
การปลูก
หลังจากฝนตกหนัก 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝนจึงเริ่มลงมือปลูก โดยขุดดินตรงกลาง
หลุม ขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อมะพร้าววางลงจัดรากให้แผ่ตามธรรมชาติ
หลุม ขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อมะพร้าววางลงจัดรากให้แผ่ตามธรรมชาติ
เอาดินกลบเหยียบด้านข้างให้แน่น กลบดินให้เสมอผิว
ของผลมะพร้าว ปักหลักกันลมโยกในระยะแรก ๆ ควรทำร่มบังแดดด้วย
การดูแลรักษา
การให้น้ำ ในช่วง 1-2 ปีแรก การให้น้ำแก่ต้นมะพร้าวเป็นสิ่งจำเป็น
ในฤดูแล้ง ควรรดน้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง และใช้เศษหญ้าคลุม
โคนมะพร้าวเพื่อรักษาความชื้น
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ในช่วงฤดูฝน ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตร2 ปริมาณเท่าจำนวน
อายุของมะพร้าว แต่ไม่เกิน 4 กิโลกรัม ต่อต้นต่อปี สำหรับปุ๋ยคอกใส่ประมาณ 2
ปีบต่อต้นต่อปี ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ ห่างจาก
โคนต้นมะพร้าวออกมา 15 เซนติเมตร จนถึงรัศมี 1.5 เมตร รอบต้น
........................................................................................................
การปลูกพืชชนิดต่างๆ ต้องควบคู่กับการรดน้ำ และใส่ปุ๋ย เพื่อการเจริญเติบโต ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืช ถ้าพืชได้ปุ๋ยน้อยหรือขาดปุ๋ย ก็ไม่เจริญเติบโตงอกงามอย่างเต็มที่ ทั้งยังให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้เลย การทำปุ๋ยอินทรีย์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยที่เกิดจากการนำมูลสัตว์ ได้แก่ มูลวัว มูลไก่ ซึ่งมูลเหล่านี้จะมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน และพืช เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์วัตถุในดิน และรักษาความอุดมสมบูรณ์ในดินอยู่เสมอ การทำปุ๋ยอินทรีย์แล้วนำมาอัดเป็นเม็ด เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย ต้นทุนไม่สูงสามารถนำไปใช้ได้ง่าย ช่วยลดการฟุ้งกระจายเป็นฝุ่นของปุ๋ย
ส่วนผสมของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
> มูลวัว
> มูลไก่
> แกลบดิน
> รำละเอียด
> น้ำจุลินทรีย์
> กากน้ำตาลโมลาส
> น้ำ
> มูลวัว
> มูลไก่
> แกลบดิน
> รำละเอียด
> น้ำจุลินทรีย์
> กากน้ำตาลโมลาส
> น้ำ
วิธีการทำปุ๋ยอัดเม็ด
เตรียมพื้นที่เรียบอยู่ในที่ร่ม แล้วนำมูลไก่ตากแห้ง มูลวัวตากแห้ง แกลบดิน ซึ่งเป็นสารอาหาร ทำให้ได้ซิลิก้าและดินร่วนซุย นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำน้ำจุลินทรีย์ กับกากน้ำตาลโมลาสมาผสมน้ำให้เข้ากัน แล้วนำมาราดบนกองปุ๋ยที่ผสมเอาไว้ เพื่อเป็นหัวเชื้อให้มูลต่างๆ ย่อยง่าย และช่วยดับกลิ่นมูล ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็น อย่าใส่มากเพราะจะทำให้ปุ๋ยแฉะ
คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ตรวจสอบความชื้นให้ประมาณ 50 % วิธีตรวจสอบง่ายๆ คือ ใช้มือกำปุ๋ยที่คลุกผสม ได้ที่แล้ว กำแล้วน้ำต้องไม่ไหลออกจากอุ้งมือ เมื่อแบมือออกปุ๋ยจะเป็นก้อนเล็กน้อย
เทรำละเอียดลงบนกองปุ๋ย ทำการผสมให้เข้ากันแล้วเกลี่ยให้กองปุ๋ยสูง1 เมตร คลุมด้วยกระสอบป่านแล้วหมักทิ้งไว้ 7 วัน การหมักปุ๋ยทำให้เกิดอุณหภูมิสูง ต้องกลับปุ๋ยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดอุณหภูมิโดยการใช้ปรอทเป็นตัววัด ทำการวัดที่กองปุ๋ย โดยไม่ให้อุณหภูมิเกิน 70 องศา ถ้าหากอุณหภูมิเกิน 70 องศา จะทำให้จุลินทรีย์ในปุ๋ยตาย แล้วปุ๋ยก็จะใช้ไม่ได้ ทำการกลับปุ๋ยตลอด 7 วัน ความร้อนจะค่อยๆ ลดลง แล้วจึงนำไปใช้ได้ ใช้เครื่องบดอาหารกุ้งหรืออาหารปลา ทำการใส่ปุ๋ยผสมกับดินลงในกะบะ ตัวเครื่องจะหมุนไปเรื่อยๆ แล้วทำการขยำปุ๋ยให้ร่วน ใส่ลงเครื่องบด หมั่นเติมน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ ดินมีความเหนียวมาก ปุ๋ยอัดเม็ดจะนิ่มเกินไปไม่เป็นก้อน
ใช้คราด เกลี่ยกองปุ๋ยให้แตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วทำการตักใส่ผ้ารอง นำไปตากแดดแล้วบรรจุใส่ถุง
เทรำละเอียดลงบนกองปุ๋ย ทำการผสมให้เข้ากันแล้วเกลี่ยให้กองปุ๋ยสูง
ใช้คราด เกลี่ยกองปุ๋ยให้แตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วทำการตักใส่ผ้ารอง นำไปตากแดดแล้วบรรจุใส่ถุง
การจัดจำหน่าย : นำปุ๋ยอัดเม็ดบรรจุถุงขายหรือส่งตามร้านขายเครื่องมือทำการเกษตร หรือร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ต่างๆ เป็นอาชีพที่ใช้การลงทุนต่ำ ผลิตง่าย คุ้มค่าแก่การลงทุนเป็นอย่างมาก
เคล็ดลับ : ขั้นตอนสำคัญของการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด อยู่ที่การใส่น้ำเชื้อจุลินทรีย์ผสมกับน้ำตาลโมลาสนั้น จะต้องใส่ในปริมาณที่พอดีอย่าให้แฉะ และหมั่นปรับอุณหภูมิของปุ๋ย โดยการพลิกปุ๋ยวันละ 2 ครั้ง วัดอุณหภูมิอย่าให้เกิน 70 องศา เพราะจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตาย ทำให้ปุ๋ยใช้ไม่ได้
..........................................................................................................
การปลูกและจัดการนาหญ้า
1. การเตรียมดิน
· ควรเริ่มไถดินช่วงต้นฤดูฝนในเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม เมื่อดินมีความชื้นพอเพียง
· หว่านปุ๋ยหินฟอสเฟต 50 - 100 กก. / ไร่
· ไถดินทันทีเมื่อหน้าดินมีความชื้นลึกถึง 50 ซม.
· ไถดินอีกครั้งหากแปลงมีวัชพืชมาก
· ขนเศษวัชพืชออกจากแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเจริญเติบโตอีก
· คราดดินแล้วปลูกทันที
· หากดินขรุขระมากควรคราดทางขวางอีกครั้ง
· หากปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ในที่ที่เคยทำนามาเป็นเวลานาน ควรไถดินให้ลึก เพื่อทำให้ดินดานชั้นล่างแตก ซึ่งจะทำให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น
· การเตรียมดินควรทำให้หน้าดินเรียบพอสมควร
2. ซื้อเมล็ดพันธุ์
ควรซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี สะอาด เมล็ดพันธุ์ใหม่ มีความงอกสูง เมล็ดพันธุ์จะมีขายในเดือนมีนาคม / เมษายน แต่ควรสั่งจองเมล็ดพันธุ์ไว้แต่เนิน ๆ คือ ประมาณเดือนธันวาคม / มกราคม เก็ยเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่แห้งและไม่ถูกแสงแดดหรือความร้อน
ควรซื้อเมล็ดพันธุ์หญ้าและถั่วผ่านกลุ่มเกษตรกรที่ท่านเป็นสมาชิกอยู่ หรือซื้อโดยตรงจาก
· สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ
· สถานีอาหารสัตว์ต่าง ๆ
· ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์
· กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
· เกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อขาย
ราคาเมล็ดพันธุ์หญ้าจะประมาณ กก. ละ 60 บาท เมล็ดถั่วประมาณ กก. ละ 30 - 50 บาท
· เมล็ดพันธุ์หญ้ารูซี่ควรมีอายุอย่างน้อย 4 เดือน หลังเก็บเกี่ยว จึงจะงอกดี
· สำหรับหญ้ารูซี่ เมล็ดพันธุ์ที่ดีควรมีความงอกสูงกว่า 70%
· เมล็ดพันธุ์ถั่ว มักมีอัตราความงอกที่แตกต่างกันมาก แต่โดยทั่วไปควรมีอัตราความงอกมากกว่า 50 %
· เมื่อจะซื้อเมล็ดพันธุ์ควรถามคนขายว่ามีอัตราความงอกเท่าไร
· สำหรับพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์หญ้า 1 กก. และเมล็ดพันธุ์ถั่ว 1 กก. หากมีอัตราความงอกต่ำต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่านี้
· สอบถามเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หากต้องการคำแนะนำต่าง ๆ
3. การผลิตเมล็ดพันธุ์ด้วยตนเอง
ในระหว่างปีแรกของการปลูกหญ้า สามารถปล่อยให้สัตว์เข้าไปกินหรือเกี่ยวให้สัตว์กินจนถึงเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยให้พอเพียง แล้วปล่อยให้หญ้าและถั่วเจริญเติบโตเพื่อผลิตเมล็ด เมล็ดพันธุ์ที่เก็บได้บางส่วนอาจจะขาย บางส่วนอาจจะเก็บไว้ปลูกขยายแปลงหญ้าของตนเอง
4. การเตรียมเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูก
4.1 เมล็ดพันธุ์หญ้า
· เมล็ดพันธุ์หญ้าไม่ต้องขัดถูหรือลวกน้ำร้อน
· เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่แห้งและไม่มีแมลงรบกวน
· เมล็ดพันธุ์ควรมีอัตราความงอกไม่ต่ำกว่า 60 % แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์หญ้า
· ควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีอายุอย่างน้อย 4 เดือนหลังเก็บเกี่ยว จึงจะงอกดี แต่ไม่ควรเกิน 1 ปี เพราะจะทำให้สูญเสียความงอกหากไม่เก็บรักษาไว้ในที่แห้งและเย็น
5. ควรปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์เมื่อไร่
· ช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกคือต้นฤดูฝน (ฟฤษภาคมและมิถุนายน)
· ต้องปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้น หลังฝนตกควรปลูกทันที
· หากดินที่ระดับความลึก 50 ซม. จากผิวดิน มีความชื้นดีจะทำให้เมล็ดมีความงอกดี
· หากดินจากระดับความลึก 20 ซม. แห้งไม่ควรปลูก ควรรอฝนตกอีกรอบ
· เมล็ดพันธุ์จะงอกภายใน 7 - 10 วัน หลังปลูก
· ในปีแรกหญ้าจะเจริญเติบโตเร็วกว่าถั่ว แต่ปกติถั่วจะโตทันหญ้าในปีที่สอง
· ระหว่างเดือนสิงหาคม - กลางเดือนกันยายน มักจะมีฝนตกหนัก หากปลูกหญ้าในช่วงนี้อาจจะทำให้เมล็ดพันธุ์มีอัตราความงอกต่ำเนื่องจากการพังทลายของดินและเมล็ดพันธุ์ถูกน้ำพัดหนี
6. อัตราเมล็ดพันธุ์
· ควรใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 2 กก. / ไร่ ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์หญ้า 1 กก. และเมล็ดพันธุ์ถั่ว 1 กก.
· หากปลูกปลายฤดูฝนหรือเมล็ดมีความงอกต่ำ ควรเพิ่มอัตราเมล็ดพันธุ์เป็น 3 กก. / ไร่
· หากปลูกถั่วโดยการหว่าน ถ้าจะให้ผลดีควรหว่านในอัตรา 2 กก. / ไร่
7. วิธีการปลูก การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
1. หยอดเป็นแถว
2. หญ้าบางชนิดสามารถปลูกด้วยต้นพันธุ์หรือท่อนพันธุ์
3. หว่านเมล็ดในแปลงที่เตรียมดินแล้ว
วิธีการปลูกที่แนะนำให้ปฏิบัติโดยทั่วไปคือการหยอดเมล็ดเป็นแถว
7.1 การปลูกโดยการหยอนเมล็ดเป็นแถวตามร่อง
· แต่ละแถวควรห่างกัน 30 - 50 ซม.
· หยอนเมล็ดหญ้า 2 แถว สลับกับเมล็ดถั่ว 1 แถว
· วิธีการปลูกอีกวิธีหนึ่ง คือ การหยอดเมล็ดหญ้าตามแถวห่างกัน 30 ซม. แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วให้ทั่วแปลง แต่จะได้ผนที่ไม่แน่นนอน
· หยอดเมล็ดหรือใช้ต้นพันธุ์ปลูกในหลุมระยะห่างกัน 25 - 30 ซม.
· การหยอดเมล็ดพันธุ์ไม่ควรลึกเกิน 1 ซม. จึงจะทำให้เมล็ดงอกดี
· ในการปลูกอาจจะใช้เครื่องมือหยอดเมล็ดก็ได้
· การกลบเมล็ดพันธุ์หลังจากหยอดอาจใช้กิ่งไม้ (ที่มีใบด้วย) ลากไปตามร่องหรือใช้เท้ากลบก็ได้
7.2 การปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์
· การปลูกด้วยท่อนพันธุ์จะได้ผลดีที่สุด เพราะปลูกแล้วหญ้าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตาย แต่การปลูกแบบนี้ต้องใช้แรงงานมาก จึงเหมาะสำหรับการปลูกหญ้าสวนครัวหรือหญ้าแปลงเล็ก
· หญ้าที่ปลูกได้โดยวิธีนี้ได้แก่ หญ้ากินนี หญ้ารูซี่ หญ้าซิกแนล และหญ้าขน
· ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างแถว 30 - 50 ซม. และระยะระหว่างต้น 25 - 30 ซม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์หญ้า
· ต้นหญ้าที่จะใช้ปลูกควรจะสดและปลูกหลังฝนตกในขณะที่ดินมีความชื้น
· ควรหว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วระหว่างแถวของหญ้าที่ปลูกแล้ว
· หากความงอกของเมล็ดพันธุ์หญ้าไม่ดี ควรใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในบริเวณที่เมล็ดไม่งอก ก่อนวัชพืชจะเจริญเติบโต
7.3 การหว่าน
· การปลูกโดยใช้เมล็ด หากไม่จำเป็นไม่ควรใช้วิธีหว่าน เพราะจะทำให้ความงอกต่ำ และการกำจัดวัชพืชทำได้ยาก
· หากจำเป็นต้องปลูกโดยการหว่าน ควรหว่านหญ้าและหว่านถั่ว ในอัตราอย่างละ 2 - 3 กก. / ไร่
· หว่านเมล็ดพันธุ์อย่างสม่ำเสมอบนแปลงที่เตรียมดินดีพอสมควร โดยที่ดินควรมีความชื้นดีตั้งแต่ระดับผิวจนถึงระดับลึก 30 - 50 จึงจะทำให้เมล็ดงอกดี
8. การกำจัดวัชพืช
· วัชพืชสามารถสร้างความเสียหายแก่แปลงหญ้าได้อย่างมาก หากไม่มีการควบคุมให้ดีในช่วง 2 เดือน แรกของการปลูก
· วัชพืชอาจจะไม่ขึ้นปกคลุมต้นหญ้าและถั่วที่ยังเล็กอยู่ แต่วัชพืชจะแยงน้ำและอาหารจากพืชที่ปลูก
การควบคุมวัชพืช
· ก่อนปลูกหญ้า ควรมีการไถกลบวัชพืช และควรไถแล้วคราดอีกที หลังจากเมล็ดวัชพืชงอก แล้วเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงเพื่อไม่ให้มีโอกาสเจริญเติบโตอีกต่อไป
· หลังจากปลูกหญ้าแล้ว
- ควรกำจัดวัชพืชในระยะ 3 - 4 สัปดาห์ หลังเมล็ดงอก
- กำจัดวัชพืชหลังจากนั้นอีก 2 เดือน
- ถ้าปลูกแปลงหญ้าเป็นแถว ควรจะกำจัดวัชพืชโดยการใช้จอบถาก หรืออาจจะใช้สัตว์ลากคราดไประหว่างแถว
· การกำจัดวัชพืช ควรทำขณะที่ดินแห้ง เพื่อให้วัชพืชตายง่าย
· วัชพืชจะทำให้ผลผลิตหญ้าเลี้ยงสัตว์ลดลง จึงควรกำจัดก่อนที่วัชพืชจะออกดอกและผลิตเมล็ด
· ไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชในแปลงหญ้า เพราะจะเป็นอันตรายต่อสัตว์
9. การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยคอก
· ปุ๋ยคอกจะช่วยให้อินทรีย์วัตถุในดินสูงขึ้น และทำให้หญ้าเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
· ใช้ปุ๋ยคอกในแปลงที่ปลูกหญ้าเป็นแถวจะทำให้กำจัดวัชพืชง่าย
การใส่ปุ๋ยเคมี
ปีที่ 1
· ก่อนปลูก ควรหว่านปุ๋ยหินฟอสเฟต ในอัตรา 50 - 100 กก. / ไร่ แล้วไถกลบหินฟอสเฟตจะให้ธาตุฟอสฟอรัส โดยจะค้อย ๆ สลายตัวและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ อยู่ถึง 2 หรือ 3 ปี หลังจากหว่านแล้ว
· ใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ให้ทั่วทุกแถว ในอัตรา 30 กก. / ไร่ หากมีการแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกควรใส่หลังจากงอกได้ 2 สัปดาห์ ในอัตรา 10 กก. / ไร่ และครั้งที่ 2 ใส่หลังจากตัดหญ้าครั้งแรก โดยใส่ในอัตรา 20 กก. / ไร่
· ปลายฤดูฝนราวเดือนกันยายน ควรใส่ปุ๋ยยูเรียในอัตรา 10 กก. / ไร่ แต่ควรใส่ตามแถวหญ้าเท่านั้น ไม่ใช่หว่านทั่วแปลง
ปีที่ 2 และ 3
· หลังจากตัดหญ้าทุกครั้งควรใส่ปุ๋ยยูเรียในอัตรา 10 กก. / ไร่ หากแปลงหญ้ามีสีเหลืองแสดงว่าขาอธาตุไนโตรเจน ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย แต่หากมีการปลูกถั่วรวมกับหญ้าในสัดส่วนที่เหมาะสม ถัวจะให้ธาตุไนโตรเจนแก่หญ้าเองโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยยูเรียอีก
· สำหรับถั่วควรหว่านปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (สูตร 0 - 46 - 0 ) ในเดือนพฤษภาคมของทุกปีในอัตรา 20 กก. / ไร่
การใช้แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์
· หลักการจัดการที่ดีในการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีดังนี้
- ตัดหญ้าหรือปล่อยให้สัตว์เข้าไปแทะเล็มทุก 30 - 50 วัน ขึ้นอยู่กับ
ความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- ในการตัดหญ้าหรือปล่อยสัตว์เข้าไปแทะเล็มควรมีการหมุนเวียน โดยแบ่ง
แปลงหญ้าเป็นส่วน ๆ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้หญ้างอกใหม่ และเจริญเติบโตได้ดี
· ไม่ควรปล่อยให้หญ้าแก่เกินไปเพราะต้นหญ้าสูงและใบแข็ง ซึ่งจะทำให้คุณภาพของหญ้าต่ำ และใบคลุมต้นถั่ว
· ไม่ควรปล่อยให้สัตว์แทะเล็มหญ้ามากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นหญ้าเหลือสั้นเกินไป ซึ่งต้นหญ้าจะตายและได้ผลผลิตหญ้าต่ำ
· การปล่อยให้สัตว์แทะเล็มหรือเกี่ยวนั้น ควรทำให้ต้นหญ้ามีความสูงเหลือประมาณ 8 ซม. จากระดับผิวดิน เพื่อให้หญ้าเจริญเติบโตได้ดีต่อไป
· สำหรับแปลงหญ้าที่มีพื้นที่มาก ควรปฏิบัติดังนี้
(ก) แบ่งแปลงหญ้าออกเป็นแปลงย่อย แล้วล้อมรั้วแปลงย่อยแต่ละแปลง
(ข) ผูกล่ามสัตว์ให้กินเป็นบริเวณ และย้ายที่เมื่อหญ้ามีความสูงเหลือประมาณ 8 ซม.
ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาแปลงหญ้า
1. ไม่ปล่อยให้สัตว์กินหญ้าในแปลงมากจนเกินไป
2. มีการกำจัดวัชพืช
3. มีการใส่ปุ๋ยทุกปี
4. มีการปลูกซ่อมในบริเวณที่หญ้าไม่งอก
บันทึกองค์ความรู้โดย คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ
....................................................................................................
เรื่องทำไร่นาสวนผสม
การดำเนินการการทำไร่นาสวนผสม ประกอบด้วยปัจจัยหลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ที่ดิน
• ดินมีความอุดมสมบูรณ์ หรืออย่างน้อยจะต้องมีความเหมาะสมกับชนิดพืชที่เกษตรกรเลือกปลูก และใกล้แหล่งน้ำ
• มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเอง เพราะจำเป็นจะต้องปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น ปรับเปลี่ยนที่นามาเป็นที่สวน เพื่อปลูกไม้ผล ยกร่อง หรือขุดดินทำบ่อปลา ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าจะเก็บผลผลิตได้ จึงควรมีที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการถูกเรียกที่ดินคืนจากเจ้าของที่แท้จริง
• ที่ตั้ง ควรอยู่ใกล้บ้านพักอาศัย เพื่อจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด และเฝ้า ไม่ให้มีคนมาขโมยผลผลิตจากสวน
2. แรงงาน
ควรมีแรงงานในครอบครัวมากพอที่จะช่วยดูและทำไร่นาสวนผสมในกรณีที่เกษตรกรมีเงินทุนน้อย
3. ทุนประกอบการ
ระยะเริ่มแรกต้องใช้เงินทุนมาก เพื่อการปรับเปลี่ยนที่ดิน และเพื่อการซื้อพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จำเป็นต้องหาแหล่งเงินกู้สนับสนุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ
4. การจัดการ
การทำไร่นาสวนผสมต้องมีการจัดการที่ดี สามารถออกแบบวางแปลนสวนที่ถูกต้องและ ตัดสินใจเลือกว่าควรปลูกพืชอะไร เลี้ยงสัตว์อะไรในไร่นาสวนผสมของตน
โดยกิจกรรมที่ทำต้องไม่เป็นศัตรูซึ่งกันและกัน และต้องรู้ว่าเมื่อดำเนินกิจกรรมไปแล้วจะขายได้อย่างไร
สถานที่ให้คำปรึกษา
1. กรมส่งเสริมการเกษตร โทร 0-2561-4879
2. สำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ
ข้อแนะนำ
1. ต้องหมั่นศึกษา อบรมและดูงาน ข้อมูลข่าวสารการเกษตร เพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถ จะได้มีความคิดก้าวหน้า
2. พื้นที่ที่เหมาะสมในการทำไร่นาสวนผสม ควรมีไม่ต่ำกว่า
เงินลงทุน
ประมาณ 100,000 บาท (ไม่รวมที่ดิน)
ประมาณ 100,000 บาท (ไม่รวมที่ดิน)
รายได้
ประมาณเดือนละ 5,000 บาทขึ้นไป
แหล่งเงินทุนประมาณเดือนละ 5,000 บาทขึ้นไป
สถาบันการเงินชุมชนบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ
.......................................................................................................................
เรื่องทำนาข้าว
1.การเตรียมพันธุ์ข้าว
เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง
แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เมล็ดจะงอกภายใน 48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็นยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า ต้นกล้า หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้นโดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ 5-15 หน่อ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ข้าว ระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ 100-200 เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่สุดประมาณ100-200 เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ข้าวตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ
แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เมล็ดจะงอกภายใน 48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็นยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า ต้นกล้า หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้นโดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ 5-15 หน่อ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ข้าว ระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ 100-200 เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่สุดประมาณ100-200 เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ข้าวตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ
2.การปลูกข้าว
วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้
2.1 การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ
คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันทีหลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน
และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก
คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันทีหลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน
และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก
2.2 การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า Indirect Seeding ซึ่งต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร การไถดะหมายถึง การถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนาตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปรแล้วทำการคราดได้ทันที การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็นที่ราบจะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก
การตกกล้า หมายถึง การนำเมล็ดหวานให้งอก ใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน นับจากวันหว่าน เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดโตพอที่จะถอนนำไปปักดำได้
การปักดำ คือการนำต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ จะต้องสลัดดินโคลนที่รากออก แล้วนำไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้ง พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนั้นลึกมากต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และ ข้าวจะต้องยืดต้นมากกว่าปกติ
จนผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่ได้ผลผลิตสูงจะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร
จนผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่ได้ผลผลิตสูงจะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร
2.3 การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์
หว่านลงในพื้นที่นาที่ไถเตรียมไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า Direct Seeding การเตรียมดินก็คือการไถดะและไถแปร ชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีคันนากั้นจึงสะดวกแก่การไถด้วยแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามยังมีชาวนาจำนวนมากใช้แรงงานวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ การหว่านหลังขี้ไถ และการหว่านน้ำตม
หว่านลงในพื้นที่นาที่ไถเตรียมไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า Direct Seeding การเตรียมดินก็คือการไถดะและไถแปร ชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีคันนากั้นจึงสะดวกแก่การไถด้วยแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามยังมีชาวนาจำนวนมากใช้แรงงานวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ การหว่านหลังขี้ไถ และการหว่านน้ำตม
การหว่านสำรวย การหว่านวิธีนี้ชาวนาจะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังไม่ได้เพาะให้งอกลงในพื้นที่นาเตรียมดินโดยการไถดะ และไถแปรไว้แล้วโดยตรง เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงไปตกลงปอยู่ในซอกระหว่างก้อนดินและรอยไถ เมื่อฝนตกพื้นดินเปียกและเมล็ดได้รับความชื้นเมล็ดข้าวจะงอกเป็นต้นกล้า การหวานวิธีนี้ใช้เฉพาะท้องที่
ซึ่งดินมีความชื้นพออยู่แล้ว
ซึ่งดินมีความชื้นพออยู่แล้ว
การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ ชาวนาจะทำการไถดะและไถแปร แล้วจึงนำเมล็ดที่ยังไม่ได้เพาะ ให้งอกหว่านลงไปทันทีแล้วคราด หรือไถเพื่อกลบเมล็ดที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากดินมีความชื้นอยู่แล้วเมล็ดจะเริ่มงอกทันทีหลังจากหว่านลงดิน การตั้งตัวของต้นกล้าจะตั้งตัวดีกว่าการหว่านสำรวย เพราะเมล็ดที่หว่านถูกกลบฝังลึกลงในดินการหว่านน้ำตม การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีน้ำขังประมาณ 3-5 เซนติเมตร และพื้นที่นาเป็นผืนใหญ่ขนาดประมาณ 1-2 ไร่มีคันนากั้นเป็นแปลงการเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียมดินสำหรับนาดำ ซึ่งมีการไถดะ ไถแปร และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออกจากพื้นนาแล้วจึงทิ้งให้ดินตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่านลงนาและไขน้ำออก เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าวและเจริญเติบโตอย่างข้าวอื่นๆ
3. การดูแลรักษา ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ด การปักดำต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต ในระหว่างนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้าทำลายต้นข้าว โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตายหรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตราฐาน เพาะฉะนั้นนอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ดีแล้วจะต้องมีวิธีการดูแลที่ดีอีกด้วย ทั้งการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยและพ่นยาเคมี เพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้
4. การเก็บเกี่ยว สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่สี่หลังจากข้าวออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ชาวนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางใช่เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวที่ละหลายๆ รวง ส่วนชาวนสภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมี 2 ชนิด ได้แก่ เคียวนาสวน และเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียวกว้าง ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนที่ปลูกไว้แบบปักดำ ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองที่ปลูกไว้แบบหว่าน ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะข้าวที่ถูกเกี่ยวมาจะถูกมัดเป็นกำๆ ส่วนข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระจำเป็นต้องมีคอรวงยาวเพราะชาวนาต้องเกี่ยวรวงที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำๆ ข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขายหรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาบนตอซังเพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา 3-5 วัน สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะถูกกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่างๆ กันเป็นเวลา 5-7 วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงนำมาที่ลานนวด ข้าวที่นวดแล้วจะถูกนำไปเก็บในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขายหรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาบนตอซังเพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา 3-5 วัน สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะถูกกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่างๆ กันเป็นเวลา 5-7 วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงนำมาที่ลานนวด ข้าวที่นวดแล้วจะถูกนำไปเก็บในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้