สถาบันการเงินชุมชน


จากภาวะความยากจนของชาวบ้านในชุมชนบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ ที่ได้จากการ สำรข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) เมื่อสรุปข้อมูล ปรากฏว่ามีประชากรในหมู่บ้านตกเกณฑ์ รายได้ ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 15,000 บ าท/คน/ปีได้รับการพิจารณาให้เป็นหมู่บ้านเป้าหมาย โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เมื่อปี พ.ศ.2536 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กรมการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านละ 280,000 บาท เพื่อเป็นเงินกองทุนให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย 54 ครัวเรือน ให้ยืมเพื่อไปลงทุนในการประกอบอาชีพโดยไม่มีดอกเบี้ย ในช่วงการฝึกอบรมเพื่อเตรียม ความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายนั้น
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านแหลมด้สอดแทรกแนวคิดการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดยมีวัตถุประสงค์ให้ครัวเรือน
เป้าหมายรู้จักการออมเงินเพื่อ 2 เป็นแหล่งทุนของตัวเอง จากการฝึกอบรมครั้งนั้น ชาวบ้านในหมู่บ้านได้รวมตัวกันก่อตั้งกลุ่ม
ออมทรัพย์ เพื่อการผลิตขึ้น โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านแหลมสนับสนุนการจัดตั้ง สมาชิกร่วมก่อตั้ง จำนวน 54 คน ปัจจุบัน
มีสมาชิกทั้งสิ้น 120 คนส่งเงินออมขั้นต่ำ 50 บาท/คน/เดือน กำหนดการส่งเงิน สัจจะทุกวันที่ 1-2 ของเดือน เงินสัจจะสะสมจำนวน
1,250,000 บาท ให้สมาชิกกู้ยืม 45 ราย เป็นเงิน 690,000 บาท ที่เหลือฝากไว้กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาบ้านแหลม
จังหวัดเพชรบุรี เป็นเงิน 340,000 บาท
          ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2544 รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งทุน
กู้ยืมประกอบอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน จากโครงการ ดังกล่าว ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รวมตัวกันในรูปของกลุ่มอาชีพขึ้น
หลายกลุ่ม เพื่อรวมตัวกู้ยืมเงิน ไปประกอบอาชีพ เช่น กลุ่มผู้ทำนาข้าวกลุ่มอาชีพแม่ค้าขายของที่ชายหาดชะอำ กลุ่มเลี้ยงปลา
เลี้ยงโค กลุ่มปลูกหญ้า กลุ่มประมง โดยสามารถกู้ยืมเงินในรูปกลุ่ม วงเงินกลุ่มละ 50,000 – 100,000 บาท จากการสนับสนุนของ
หน่วยงานภาครัฐและความร่วมมือของชาวบ้านก่อตั้งกันเอง ทำให้เกิดกองทุนของ กลุ่มต่าง ๆ กระจายกันอยู่ในหมู่บ้านจำนวนมาก
แต่ละกลุ่มจะมีเงินกองทุนเป็นของตัวเอง โดยเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคาร ซึ่งคณะกรรมการของกลุ่มซ้ำซ้อนกันอยู่ไม่กี่คน
จากความยากจนของคนในชุมชนบ้านดอนมะขามย่างเนื้อในอดีต เปลี่ยนแปลงจน กลายมาเป็นชุมชนที่เข้มแข็งในปัจจุบัน มีหลาย
ปัจจัย ที่มีส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ ชุมชนบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ สถาบันการเงินบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ หมู่ที่
1 ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลมังหวัดเพชรบุรีป็นหนึ่งในสถาบันชุมชนที่มีส่วนช่วยในการเสริมเสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
และเป็นแหล่งเงินออมและเงินทุนที่มีสำคัญของชุมชนบ้านดอนมะขามย่างเนื้อและชุมชน ใกล้เคียง และยังเป็นสถาบันการเงินท
ี่สามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานให้กับชุมชนอื่น ๆ ได้เป็น อย่างดี เนื่องจากมีการกำหนดการบริหารงานและวิธีดำเนินงาน
ไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันสถาบันการเงิน ชุมชนบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ หมู่ที่ 1 ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็น
สถาบันหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นในทุกด้าน อีกทั้ง
ยังมีลักษณะรูปแบบการดำเนินงานที่เป็นองค์กรเครือข่ายอย่างชัดเจน ครอบคลุมทุกด้าน ส่งผลให้การดำเนินงานประสบความ
สำเร็จได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ๆ มา ศึกษาวิธีการดำเนินงานของสถาบันการเงินฯ เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการ
แก้ไขปัญหาให้กับชุมชนอื่น ได้เป็นอย่างดี 3สถาบันการเงินชุมชนบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ มีการบริหารจัดการ ดังนี้
ส่วนที่ 1 สมาชิก แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
         ประเภทที่ 1 เป็นสมาชิกรายบุคคล เช่น บุคคลทั่วไปทั้งในและนอกหมู่บ้าน นักเรียนในชุมชน
         ประเภทที่ 2 เป็นสมาชิกกลุ่มองค์กร ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์กองทุน
หมู่บ้าน กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มชาวนา กลุ่มเลี้ยงเป็ด ชมรมผู้สูงอายุตำบลปากทะเล ชมรมนักการภาร
โรงอำเภอบ้านแหลม กลุ่มสงเคราะห์ฌาปนกิจบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ ชีวัดนอกปากทะเลกองทุน
หมู่บ้าน (บัญชีรองรับเงินส่งคืนเงินกู้) โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (บัญชีรองรับเงินส่งคืนเงิน
ยืม) ฯลฯ
         คุณสมบัติของสมาชิก เป็นผู้ที่พำนัก หรืออาศัยอยู่ในหมู่บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ หรือหมู่บ้าน
ใกล้เคียง เป็นผู้มีนิสัยอันดีงามมีความเข้าใจเห็นชอบด้วยหลักการของสถาบันการเงินชุมชน และเป็นผู้
พร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันการเงินชุมชน
ส่วนที่ 2 ข้อตกลง คณะกรรมการบริหารสถาบันการเงินชุมชนจะเป็นผู้ร่างข้อบังคับและประชุมคณะกรรมการบริหารเพื่อร่วมกันเสนอ
ความคิดเห็นและนำเข้าที่ประชุมของสมาชิก บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการกิจกรรมของสถาบันเกี่ยวกับการเงิน การฝาก – ถอน
การกู้ยืม อัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี การประชุม บทเฉพาะกาล
ส่วนที่ 3 การประชุม
         3.1 วาระการประชุมของสถาบันฯ จะประกอบด้วย เรื่อง ประธานกล่าวเปิดการประชุม
เรื่องที่แจ้งให้ที่ประชุมทราบ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา พิจารณาเรื่องสืบเนื่องจากการ
ประชุมครั้งที่ผ่านมา รายงานฐานะทางการเงิน วาระที่ต้องพิจารณา เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) สรุปผลและปิด
การประชุม
         3.2 คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ จะมีการประชุมทุกวันที่ 4 ของเดือน
         3.3 คณะกรรมการบริหาร ได้แก่ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการฝ่ายการเงิน
กรรมการฝ่ายสินเชื่อ ร่วมกันพิจารณาปล่อยกู้ ทุกวันอาทิตย์ของสัปดาห์ (ถัดไป) หากมีสมาชิกยื่นกู้
         3.4 มีการประชุมใหญ่สามัญ ปีละ 1 ครั้ง หลังจากจัดทำงบดุลประจำปีเสร็จเรียบร้อย
แล้วภายในเดือนถัดไป (จัดทำงบดุลภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
4. ทุนดำเนินการ
แหล่งของสถาบันการเงินชุมชน ได้จาก
1. การรับฝากเงินจากบุคคลทั่วไป นักเรียน กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนและนอกชุมชน
2. การรับฝากเงินสัจจะสะสมของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์
กองทุนหมู่บ้าน
3. การกู้ยืมเงินของธนาคารออมสินสาขาบ้านแหลม (ทำ OD) จำนวน 1,000,000 บาท
4. ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากสถาบันการเงินชุมชนการบริหารเงินกองทุน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. เงินรับฝากออมทรัพย์ของสถาบันการเงินชุมชนได้จากประเภทบุคคลทั่วไป นักเรียน
กลุ่มอาชีพต่าง ๆ จะบริหารเงินทุนโดยคณะกรรมการบริหารสถาบันองค์กรการเงินชุมชน (ผู้มีสิทธิกู้ยืม
คือ สมาชิกที่ฝากเงินในบัญชีเงินฝากของสถาบันองค์กรการเงินชุมชน ทั้งในและนอกชุมชน เป็นบุคคล
ทั่วไปกลุ่มต่าง ๆ ฯ ลฯ )
2. เงินฝากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ จะบริหารเงินทุนโดย
คณะกรรมการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ (ผู้มีสิทธิกู้ยืม คือ สมาชิก
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนมะขามย่างเนื้อเท่านั้น)
3. เงินฝากกลุ่มออมทรัพย์กองทุนหมู่บ้าน จะบริหารเงินทุนโดยคณะกรรมการกองทุน
หมู่บ้านบ้านดอนมะขามย่างเนื้อ (ผู้มีสิทธิกู้ยืม คือสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ บ้านดอนมะขามย่างเนื้อ ที่มีเงินฝากสัจจะสะสมในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กองทุนหมู่บ้านเท่านั้น)   

คนอายุระหว่าง 18-60 ที่มีการประกอบอาชีพและมีรายได้ : 255 คน
ข้อมูลอื่นๆ :แหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน    

1.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
2.ธนาคารหมู่บ้าน
3.กองทุนหมู่บ้าน
4.โครงการ กข.คจ.
5.กองทุนกู้ยืมกระตุ้นเศรษฐกิจ